จิตวิทยา (psychology)
เป็น
ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหาที่นักจิตวิทยาจะศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออก
เนื้อหาที่นักจิตวิทยาจะศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออก
ของพฤติกรรม
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก
ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น
ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้
โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว
เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้
การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่
13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่
15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ
วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่
17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่
19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น
2 กลุ่ม
คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British
Empiricism) ที่เชื่อว่า
ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น
นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic
Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ
เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ
ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา
(Aims of Psychology)
จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน
โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
๑.
เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก
หรือพฤติกรรมภายใน ที่เรี่ยกว่า กระบวนการทางจิต
อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น
๒.
เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม ทั้ง
หลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรม ต่าง ๆ
โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ
เพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
๓.
เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม หมายถึงการคาดคะแนนผลที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง
ๆ ได้อย่างถูกต้อง
๔.
เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป
และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย
๕.
เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของจิตวิทยา
๑. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
๒. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
๓. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
๔. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
๕. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
๖. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
๗. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
๘. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
๙. ทำ
ให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อ สุขภาพจิต
รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตน
เองและผู้อื่น
๑๐. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว
มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
๑๑. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception) ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น
จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์ (อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์
คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ) และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา
ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม
ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม
ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา
โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม
และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ แต่ละบุคคล
ที่มา: http://board.yimwhan.com/show.php?user=lifedeath&topic=1&Cate=4
http://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น