ความคิดเห็นของแพทย์และบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับ
การช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบ
โดย
Abstract
วิทยานิพนธ์
(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของแพทย์และบุคคลทั่วไปในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
ตอนกลาง และตอนปลายเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์
90 คน (วัยผู้ใหญ่ตอนต้น 30 คน วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง
30 คน วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย 30 คน)
และบุคคลทั่วไป 90 คน (วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
30 คน วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง 30 คน
วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย 30 คน) แบบสอบถามเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้ป่วย
ที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบได้รับการใช้เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคคลทั่วไปเห็นด้วยกับการช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบ
ประเภท Active Voluntary Euthanasia และ Active
Nonvoluntary Euthanasia มากกว่าแพทย์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. แพทย์ที่แสดงความคิดเห็นโดยไม่คำนึงถึงกรอบของกฎหมาย
และจริยธรรมวิชาชีพเห็นด้วยกับ Active Voluntary Euthanasia และ
Active Nonvoluntary Euthanasia มากกว่าแพทย์ทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.01 แต่การเห็นด้วยยังน้อยกว่าของบุคคลทั่วไปในกรณีของ Active
Nonvoluntary Euthanasia อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ไม่พบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของแพทย์และบุคคลทั่วไป ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
ตอนกลาง และตอนปลายเกี่ยวกับการช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบทุก
ประเภท 4.อัตราของรายได้ต่อเดือนและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันของกลุ่มตัวอย่าง
มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับ Active Nonvoluntary Euthanasia ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 5. จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าหน่วยงานด้านการแพทย์และพยาบาลเป็นหน่วยงานที่ควรรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบ แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยควรเป็นผู้ตัดสินว่าผู้ป่วยเป็นบุคคลที่สิ้นหวังในการ
รักษา ผู้ป่วยและแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยน่าจะเป็นผู้ติดสินว่า ควรช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาตายอย่างสงบ
และพินัยกรรมเพื่อชีวิตควรเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ ของผู้ป่วยที่สิ้นหวังในการรักษาที่แพทย์น่าจะสามารถปฏิบัติตามได้
To
study and compare opinions of physicians and adult laypersons in early, middle,
and late adulthood regarding euthanasia. The subjects consisted of 90
physicians (30 early adults, 30 middle adults, 30 late adults) and 90 adult laypersons
(30 early adults, 30 middle adults, 30 late adults). Questionnaires concerning
euthanasia were used to collect data and statistically tested by the Chi-square
test. The results of the study are as follows 1. Laypersons significantly
support active voluntary euthanasia and active nonvoluntary euthanasia more
than physicians (p < 0.01). 2. Physicians who express the opinions without
legal rules and medical ethics significantly support active voluntary
euthanasia and active nonvoluntary euthanasia more than physicians (p <
0.01), but the support concerning active nonvoluntary euthanasia is
significantly less than laypersons (p < 0.01). 3. For the opinions
concerning each types of euthanasia of physicians and laypersons, there is no
age difference among early, middle, and late adulthood. 4. The different rate
of monthly income and educational background of the subjects significantly
result in different opinions concerning active nonvoluntary euthanasia (p <
0.001). 5. The collection of the subjects' suggestions show that medical and
nursing organizations should be responsible for euthanasia, a doctor should
judge whether a patient is hopeless or not, the patient and the doctor should
have a joint decision in permitting euthanasia, and a living will should be
accepted by the doctor as patient's decisions document.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น