วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 4



ครอบครัวแม่เดี่ยว:
การเป็นชายขอบ และความไม่เป็นธรรมในสังคม
Single-mother: Marginality and Social Injustice
กมลชนก ขำ สุวรรณ1 และบุรเทพ โชคธนานุกูล2
Kamolchanok Khumsuwan, and Burathep Chokthananukoon

บทคัดย่อ
การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ และสงั เคราะห์องค์ความร้ทู มี่ อี ย่บู นพนื้ ฐานงานวจิ ยั ทำ การเกบ็ ข้อมลู ในเขตกรงุ เทพมหานคร
และนครปฐม โดยการสัมภาษณ์ระดับลึกแม่เดี่ยวที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 คน และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ
ทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการทำให้เป็นชายขอบของครอบครัว
แม่เดี่ยวเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ทั้งปัจจัยด้านชีววิทยา และโครงสร้างของวัฒนธรรมแบบชายเป็นใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัว
แม่เดี่ยว การถูกตีตรา และการกีดกันความก้าวหน้า ทำให้สังคมเต็มไปด้วยอคติ ส่งผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของแม่เดี่ยวที่ต้อง
เผชิญกับความยากจน ไม่มีเงินทุนของตัวเอง ขาดปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ครอบครัวมีคุณภาพชีวิต ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมด้านสิทธิ
และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร ข้อเสนอแนะของการศึกษานี้ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ควรตระหนักถึง
ความไม่เท่าเทียมของชาย-หญิงในตลาดแรงงาน พร้อมทั้งส่งเสริมอาชีพสำหรับแม่เดี่ยวให้สามารถทำหน้าที่แม่ และทำงานนอกบ้านได้
อย่างสมดุล รวมทั้งเน้นการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน โดยเชื่อมโยงมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมควบคู่กัน
คำสำคัญ: ครอบครัวแม่เดี่ยว, การเป็นชายขอบ และความไม่เป็นธรรมในสังคม

Abstract
This study adopted qualitative research methods and synthesis of existing knowledge based on research. The
area of data collection included Bangkok and Nakorn Phathom province in Thailand. In-depth interviews were carried
out with 11 respondents voluntarily and with key informants working in central and local governmental organisations.
This research found that marginalisation in single mother families was due to sexual inequality in many aspects,
including biological and patriarchal cultural structures. Stigmatisation and discrimination in the society have significant
impacts on economic status of single-mother families, leaving them in poverty with little money to meet their ends
and to have a good quality of life. This situation can be further developed into more serious problems such as
inequality in rights and lack of opportunity. This research suggests that governmental organisations, the private sectors
and civil society realise existing inequality between male and female and the importance of helping single mothers
in terms of jobs to enable them to carry out mothers duties and be able to work at the same time, keeping the
balance between their dual roles. This research also highlights that solving challenges sustainably requires integrating
various aspects in economic, social and cultural realms.
Keywords: single mother family, marginalisation and social injustice

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น