จิตวิทยาเด็ก (เด็กกัดเล็บ)
โดย
นพ. อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จิตวิทยาเด็ก (เด็กกัดเล็บ)
คนที่มีลูกหรือเด็กที่ต้องดูแลตัวเล็กๆอายุสัก
4-5 ขวบ คงเคยเจอปัญหาเด็กชอบกัดเล็บ
พวกเราแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ?
ก. ตีมือเด็ก พร้อมกับดุด่าๆๆๆๆๆๆ ว่าอย่าทำ
เพราะมันสกปรก
ข. ดึงมือเด็กออกจากปาก แล้วคอยเฝ้า เมื่อไรใส่กัดเล็บอีกก็คอยดึงไปเรื่อยๆๆๆๆ
ค. เอาเล็บมือเราให้เด็กช่วยกัดเพิ่มอีกมือหนึ่ง ก็ไหนๆอยากกัดเล็บแล้วนี่ กัดเพิ่มอีกมือเป็นไง (ประชด)
ข. ดึงมือเด็กออกจากปาก แล้วคอยเฝ้า เมื่อไรใส่กัดเล็บอีกก็คอยดึงไปเรื่อยๆๆๆๆ
ค. เอาเล็บมือเราให้เด็กช่วยกัดเพิ่มอีกมือหนึ่ง ก็ไหนๆอยากกัดเล็บแล้วนี่ กัดเพิ่มอีกมือเป็นไง (ประชด)
หรือวิธีอีกวิธีหนึ่งที่ผมใช้กับลูกคนสุดท้องของผม แล้วได้ผลทันที!!!!
กรณีศึกษา:
เมื่อ วานซืน ปั้งๆ (ลูกสาวคนที่ 3 อายุ 5 ขวบ) ตะโกนฟ้องผมว่า “ป่าป้าขา น้องเปียนๆ (ลูกสาวคนเล็ก อายุ 4 ขวบ) กัดเล็บเล่นอีกแล้วค่ะ”
เมื่อ วานซืน ปั้งๆ (ลูกสาวคนที่ 3 อายุ 5 ขวบ) ตะโกนฟ้องผมว่า “ป่าป้าขา น้องเปียนๆ (ลูกสาวคนเล็ก อายุ 4 ขวบ) กัดเล็บเล่นอีกแล้วค่ะ”
เมื่อได้ยิน
ผมก็อุ้มน้องเปียนขึ้นมานั่งข้างๆ (อย่างนุ่มนวล) แล้วจับมือน้องเปียนข้างที่ชอบกัดเล็บยกขึ้นตรงหน้าน้องเปียน
หันหลังมือของน้องเปียนเข้าหาตัวน้องเปียน ให้เห็นเล็บที่นิ้วมือทั้งห้า แล้วพูดกับน้องเปียนด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลว่า
“น้องเปียนครับ รู้ไหมครับว่าในเล็บของน้องเปียนมันมีตัวแมงที่สกปรกน่าเกลียดตัวเล็กๆซ่อนอยู่ในเล็บ เหมือนกับตัวกิ้งกือไส้เดือนคลานขะหยึก-ขะเหยืออยู่ (เชื้อโรค - พูดเป็นภาษาที่เด็กเข้าใจได้ง่ายโดยการสร้างภาพจินตนาการตามประสบการณ์ที่เด็กเข้าใจได้) มันคอยซ่อนตัวอยู่ พอน้องเปียนกัดเล็บ มันก็จะวิ่งเข้ามาในปากน้องเปียน เข้าไปในท้องน้องเปียน แล้วมันก็จะแบ่งตัวเป็นแมงขะหยึก-ขะหยือน่าเกลียดจำนวนมากมายในท้องของน้องเปียน ทำให้น้องเปียนปวดท้อง ท้องเสีย.....อื๋อ....น่ากลัว น้องเปียนจะให้มันเข้ามาอยู่ในปากในท้องของน้องเปียนไหมล่ะครับ......”
จากนั้นหลังจากนิ่ง...หยุดพูดชั่วครู่...(ให้เด็กได้มีเวลาคิด...จินตนาการภาพตามเรา..เหมือนเราเล่านิทาน)
ผมก็จับมือของน้องเปียนขยับเข้าไปใกล้ปากของน้องเปียน แล้วพูดขึ้นมาว่า
“เอาเลยครับน้องเปียน...ตัวแมงมันรอยู่ในเล็บมือน้องเปียนแล้ว ให้มันเข้ามาอยู่ในปากน้องเปียนเลยไหมครับ....เอาเลยครับ...เอาเลย...กัดเลย...”
“เอาเลยครับน้องเปียน...ตัวแมงมันรอยู่ในเล็บมือน้องเปียนแล้ว ให้มันเข้ามาอยู่ในปากน้องเปียนเลยไหมครับ....เอาเลยครับ...เอาเลย...กัดเลย...”
น้องเปียนรีบผลักมือของตัวเองที่ผมจับออกห่างจากปากของเธอทันที
พร้อมกับพูดว่า “ไม่เอาค่ะ...ไม่เอา...น้องเปียนไม่เอา”
ผมยังคงจับมือน้องเปียนขยับเข้าไปไกล้ปากน้องเปียนอีกครั้ง
พูดอีกว่า “เอาน่า ลองดูซักหน่อย...” น้องเปียนก็ยิ่งผลักมือออกห่างพร้อมกับดึงมือกลับไปซ่อนทันทีแล้วพูดว่า
“ไม่เอาค่ะไม่เอา น้องเปียนไม่อยากเอา”
ทั้งหมดนี้ใช้เวลาทั้งสิ้นไม่ถึง
5 นาที ตั้งแต่นั้นมา....ผมสังเกตติดตามดูก็ไม่เห็นน้องเปียนกัดเล็บอีกเลย
อธิบาย:
ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่มักจะห้ามเด็กโดยบอกในสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจ
เช่น “สกปรก อย่ากัดเล็บ”
เด็กไม่เข้าใจว่า “สกปรก” มันมี ความหมาย ว่าอะไร
สำคัญแค่ไหน เขาจึงไม่สนใจ ดังจะเห็นว่าเด็กสามารถเล่นกับสิ่งสกปรกต่างๆมากมาย
โดยไม่เดือดร้อน เราต้องพูดภาษาที่ “เด็กเข้าใจ” ด้วยการสร้างภาพจินตนาการที่เด็กคุ้นเคย เช่น “ตัวแมงที่เหมือนกับตัวกิ้งกือไส้เดือนคลานขะหยึก-ขะเหยือ”
เด็กมี “จินตนาการ” ที่สูงส่งและมีพลังที่เหนือกว่าผู้ใหญ่่ทั่วไปจะเข้าใจได้
ดังจะสังเกตเห็นได้ว่าเขาสามารถเล่นกับอะไรก็ได้โดย “จินตนาการเป็นสิ่งต่างๆ”
รวมทั้งชอบฟังนิทานที่มีจินตนาการ แต่ผู้ใหญ่มักจะชอบเล่นอะไรที่เป็น
“เหมือนของจริงๆ” ดังนั้นหากเราพูดกับเด็กโดยให้เด็กจินตนาการ
เด็กจะ “เข้าใจ” และ “เห็นจริงเห็นจัง” เหมือนดังตัวอย่างที่แสดงข้างต้น
เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่ทั่วไปที่
“ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ” เพราะเขาอยากรู้อยากเห็น หากเราได้แต่ “ห้ามๆๆๆๆ”
จะเห็นได้ว่าเด็กก็มักจะขัดคำสั่ง เพราะสิ่งที่ถูกห้ามมันดูหอมหวาน น่าค้นคว้า
น่าตรวจสอบ ดังนั้นก่อนจะห้ามเราต้องให้เขา “เข้าใจ โดยใช้จินตนาการตามที่เขาถนัด”
อีกทั้งยิ่งเราลอง “ยุให้ทำ” โดยบอกว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคือ สิ่งไม่ดีที่เขาไม่ชอบ เขาก็จะ
“เลือกที่จะไม่ทำด้วยความเต็มใจ”
สรุป:
พยายามพูดโดยใช้ภาษาที่เด็กเข้าใจ
โดยใช้ “จินตนาการ” ที่เด็กเข้าใจได้ง่ายมาอธิบาย
สอนเด็กเหมือน “เล่านิทาน”
ไม่เคร่งเครียด ไม่ก้าวร้าว เด็กเมื่อผ่อนคลายจะเรียนรู้ได้ดีกว่า
เมื่อเด็กเข้าใจแล้ว ลองทดสอบผลโดยแกล้ง “ท้าทายให้เด็กทดลองทำ” (ไม่ได้ให้เด็กทำจริงๆ)
ซึ่งพอถึงตอนนี้ เด็กหากเข้าใจ “เขาจะตัดสินใจที่จะไม่ทำอย่างเต็มใจ”
เพราะเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่ “เขาเลือกเอง”
แล้วเขาจะจดจำไปตลอด เพราะการจดจำโดยใช้จินตนาการเป็นภาพนั้นจะจำได้ง่ายและทนนานกว่าคำพูดธรรมดา
และทุกครั้งที่เขาทำท่าจะกัดเล็บอีก ภาพในจินตนาการที่เราได้ “โปรแกรมจิต ว่ามี ตัวแมงน่าเกลียดอยู่” ในจิตใต้สำนึกเด็กจะผุดขึ้นมา
เขาจะปฏิเสธที่จะกัดเล็บทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น