วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 5



การศึกษาวิจัยปัจจัยเสี่ยงทีมีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น


รายงานการวิจัย : ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
กรณีศึกษา จังหวัดนครนายก
ผู้วิจัย : นางสาวจิราพร เพชรดำ นายไพบูลย์ แย้มกสิกร และคณะ
ผู้สนับสนุน : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก
ปี พ.. : กันยายน 2554

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อศึกษาสาเหตุปัญหาของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อได้ข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมเบี่ยงเบนด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวเอง พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน ด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวเอง อยู่ในระดับต่ำ ( X = 1.69, S.D = .76)
2. พฤติกรรมเบี่ยงเบนด้านปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้นในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน ด้านปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว อยู่ในระดับต่ำ ( X = 1.80 , S.D = .95)
3. พฤติกรรมเบี่ยงเบนด้านปัจจัยเกี่ยวกับเพื่อน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน ด้านปัจจัยเกี่ยวกับเพื่อน อยู่ในระดับต่ำ ( X = 1.76 , S.D = .83)
4. พฤติกรรมเบี่ยงเบนด้านปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน ด้านปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน อยู่ในระดับต่ำ ( X = 1.96, S.D = 1.08)
5. พฤติกรรมเบี่ยงเบนด้านปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน ด้านปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.05 , S.D = .92)
6 ด้านปัจจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัด
นครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียน ด้านปัจจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.01 , S.D = .94)
7. พฤติกรรมเบี่ยงเบนด้านปัจจัยเกี่ยวกับมวลชนและสารสนเทศ พบว่า นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้นในเขตจังหวัดนครนายก มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนด้านปัจจัยเกี่ยวกับมวลชนและสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.19, S.D = .98)


คำนำ

ปัจจุบันสถานการณ์ของสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นจะพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความทันสมัยตามอย่างชาติตะวันตก ละทิ้งวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่นและภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นรากฐานของสังคมไทยมาสู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยกระทรวงวัฒนธรรม มีบทบาทในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสังคมทั้งเชิงรุกและ เชิงรับการวิเคราะห์ศึกษาวิจัย สถานการณ์ ปัจจัยและพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม โดยเฉพาะการเฝ้าระวังเยาวชนหรือวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่สังคมคาดหวังให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติ ไปสู่อนาคต และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมต่อไปในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาปัจจัยเสี่ยงทีมีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงแบนของนักเรียนชั้นมัธยมต้น กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในด้านต่างๆ และปัญหาของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของ
นักเรียน เพื่อนำผลการศึกษาเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนางานเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสังคมของหน่วยงานภาครัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณท่านวาสนา แสงงามวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ ติดตามในการจัดทำวิจัยฉบับนี้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ นักเรียน ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล และตอบแบบสอบถาม ซึ่งหากผิดพลาดประการใด ผู้ศึกษาขอน้อมรับด้วยความเคารพไว้ ณ ที่นี้ด้วย
คณะวิจัยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายกกันยายน 2554


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น