วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 2



การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาการกีฬาของนักกีฬาเซปักตะกร้อ
ของ ภาณุวัฒน์ วชิรธานินทร์
เสนอต่อ  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา 
มีนาคม 2553


บทคัดย่อ
ภาณุวัฒน์ วชิรธานินทร์. (2553). การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาการกีฬาของนักกีฬาเซปักตะกร้อ.ปริญญานิพนธ์ วท.. (วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ ดร.สาลี่ สุภาภรณ์, ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเทคนิคทางจิตวิทยาการกีฬาที่นักกีฬาเซปักตะกร้อใช้ระหว่างฝึกซ้อมและแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างคือนักเซปักตะกร้อไทย เพศชายอายุระหว่าง 24-35 ปี ซึ่งเข้าแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ปี 2552 การ เก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เทคนิคการบรรยายเหตุการณ์สาคัญและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูลและตรวจสอบด้วยวิธีการ สามเส้า ผลการวิจัยพบว่าเทคนิคทางจิตวิทยาการกีฬาที่นักกีฬาเซปักตะกร้อใช้ในระดับ มากคือ การพูดกับตนเอง การทาสมาธิ และการหายใจ เทคนิคที่ใช้ในระดับปานกลางได้แก่ การฝึกจินตภาพ การกาหนดเป้าหมายและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม เทคนิคที่ไม่ได้ใช้คือการสะกดจิตและไบโอฟิดแบ็ค ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกเทคนิคทางจิตวิทยาการกีฬาคือ การขาดความเชี่ยวชาญในการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาการกีฬาและการขาดนักจิตวิทยา การกีฬาที่ทางานร่วมกับทีมเซปักตะกร้อ

THE USE OF PSYCHOLOGICAL TECHNIQUES OF SEPAK TAKRAW PLAYERS
AN ABSTRACT
BY
PANUWAT WACHIRATHANIN
Presented in partial fulfillment of tha requirements for the
Master of Science degree in Sports Science
At Srinakharinwirot University
March 2010
Panuwat Wachirathanin. (2010). The Use of Psychological Techniques of Sepk Takrae players. Master Thesis, M.Sc. (Sports Science). Bangkok : Srinakharinwirot University. Advisor Committee : Assoc. Prof. Salee Supaporn, Dr. Pichit Muangnapoe.
This study examined the psychological techniques that Thai Sepak Takraw players used during practice and competition. Participants were 12 Thai Sepak Takraw players with range of ages between 24-35 years whom competed in the 25th SEA Games, 2009. Data were collected through non-participant observation, critical incident technique and semi-structured interview. Data were analyzed using constant comparison and triangulated data across methods. Findings indicated that the most preferred techniques that most Sepak Takraw players were self-talk, concentration and breathing control. The techniques moderately used were imagery, goal setting and progressive muscle relaxation. However, the techniques did not used were hypnosis and biofeedback. Problems related to selecting psychological techniques were the lack of proficiency in using those skills and lack of sport psychologists to work with Sepak Takraw team.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น