วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 11


ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
Self-Adjustment Ability of First Year Students in Public University
ชนัดดา เพ็ชรประยูร1 ชูศรี เลิศรัตน์เดชากุล2* และ นนทิรัตน์ พัฒนภักดี1
29 กันยายน 2553

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถ ในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1ในมหาวิทยาลัยของรัฐ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยด้วยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถในการปรับตัวโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีความสามารถในการปรับตัวด้านสังคมอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการเรียนและด้านอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .01 ได้แก่ บุคลิกภาพเปิดเผยอย่างมั่นคง และเกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไปส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05ได้แก่ เพศหญิง 3) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .01 ได้แก่ เกรดเฉลี่ย3.00 ขึ้นไป (v1) บุคลิกภาพเก็บตัวอย่างหวั่นไหว (v2)และบุคลิกภาพเปิดเผยอย่างวั่นไหว (v3) โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาได้ร้อยละ 11.4 สมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่ความสามารถในการปรับตัวโดยภาพรวม = .169v1 –.322v2 – .131v3

1. บทนำ
จากสภาพความเป็นอยู่ของบุคคลในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีปัญหาการดำรงชีวิตมากกว่าสมัยก่อนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ผันแปรไป ทำให้บุคคลต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในสังคมและสามารถเข้ากับสภาวะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นปัญหาด้านการปรับตัวจึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะหากบุคคลมีการปรับตัวดีก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความสุข มีความสบายใจในการดำรงชีวิตส่งผลให้สังคมมีความสุข นอกจากนี้บุคคลที่ปรับตัวได้จะมีความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มีความเป็นประชาธิปไตย สามารถสร้างความสัมพันธ์
กับผู้อื่นได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวแรกและเป็นก้าวสำคัญสำหรับชีวิตทางการศึกษา เพราะเป็นช่วงชีวิตแห่งการปรับตัว เพื่อให้ตนเอง มีความพร้อมต่อการเป็นผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาและพร้อมที่จะก้าวย่างอย่างมั่นคงต่อการเรียนรู้ทางวิชาชีพในระดับที่สูงขึ้น ดังที่ จิรวัฒน์[1] ได้แสดงทัศนะถึงการปรับตัวของนักศึกษาใหม่ไว้ดังนี้
การปรับทัศนคติตนเองให้สอดคล้องกับความเป็นผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา เพื่อจักได้วางแผนการเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุเป้าหมาย
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทางการศึกษาที่เหมาะสม ด้วยการแสวงหาประสบการณ์การเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือกิจกรรมทวีปัญญาที่หน่วยงานของมหาวิทยาลัยจัดขึ้น การฝึกบริหารเวลาการใช้ชีวิตในรูปแบบของการจัดทำแผนสร้างโอกาสในการเปิดตนเองให้มีกลุ่มเพื่อนเพิ่มมากขึ้นการปรับรูปแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในยุคใหม่ จากเดิมที่พึ่งพาความรู้จากอาจารย์ตำราเรียน และห้องสมุดของสถาบันเป็นหลัก ไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้ทั่วโลก มีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเองให้เหมาะสม เช่นทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ ทักษะการคิดเชิงบูรณาการ ทักษะการนำเสนอ ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งวามรู้ผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยและเครือข่ายอื่นๆ พัฒนานิสัยใฝ่เรียนรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง โดยฒนาการมองหตุการณ์สภาพการณ์รอบตัวในเชิงการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้ก้าวทันกับข้อมูลความเคลื่อนไหว เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่ตนศึกษาโดยที่นักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 จัดอยู่ในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นชีวิตที่อยู่ในวัยรับตัวยากและมีปัญหามากจึงเป็นวัยที่สมควรให้การช่วยเหลือ การที่จะรอหรือคาดหวังให้มีการปรับตัวดีขึ้นภายหลังระยะวัยรุ่นแล้วเป็น
เรื่องยาก ด้วยเหตุผลหลายประการ เป็นต้นว่าลักษณะการปรับตัวที่ไม่ดีได้ฝังแน่นแล้ว โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลง
บุคลิกภาพเป็นไปได้ยาก [2] กอปรกับการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในฐานะที่เป็น
สถาบันอุดมศึกษาที่มั่นคง พัฒนาการผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เพื่อออกไปทำงานประกอบอาชีพรับใช้สังคมประเทศชาติภายใต้ปณิธานที่ว่า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวิชาการชั้นสูงที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อเป็นผู้พัฒนา และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสม อันก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” [3]จากสภาพปัญหาและความสำคัญดังกล่าวข้างต้นทำให้คณะผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่ามีความสามารถอยู่ในระดับใด และมีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษา เพื่อที่จะได้หาแนวทางป้องกัน และแก้ไขได้
ถูกวิธี และเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณาในการบริหารจัดการเพื่อให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก้ไขปัญหาด้านการปรับตัวของนักศึกษาต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1

1.1 สมมติฐานการวิจัย
1. มีตัวแปรอย่างน้อย 1 ตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
2. มีตัวแปรอย่างน้อย 1 ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1

1.2 ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น คือปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศคณะ เกรดเฉลี่ย ที่พักอาศัย แหล่งเงินทุนในการเรียนและปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ บุคลิกภาพแบบเก็บตัวอย่างมั่นคง เก็บตัวอย่างหวั่นไหว แสดงตัวอย่างมั่นคงแสดงตัวอย่างหวั่นไหว
2. ตัวแปรตาม คือความสามารถในการปรับตัวได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียน ด้านสังคม
ด้านอารมณ์




2. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความสามารถในการปรับตัว (Self–adjustmentAbility)
หมายถึงกระบวนการที่บุคคลใช้ความพยายามในการปรับตนเองเมื่อต้องเผชิญกับสภาพปัญหาความอึดอัดใจ ความคับข้องใจ ความเครียด ความทุกข์ใจความวิตกกังวลต่างๆ จนเป็นสภาพการณ์ที่บุคคลนั้นๆสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสภาพปัญหานั้นๆ ได้
2.2 ประเภทของการปรับตัว
2.2.1 การปรับตัวด้านการเรียน หมายถึงการที่บุคคลมีความตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายตลอดชั่วโมงเรียนรู้จักซักถามเมื่อเกิดข้อสงสัยไม่เข้าใจ รู้จักสรุปใจความสำคัญและบันทึกย่อ มีเอกสารในการเรียนพร้อม ไม่ทำกิจกรรมอื่นในขณะเรียน ศึกษาวิชาเรียนมาล่วงหน้าหรือค้นคว้าเพิ่มเติมจากห้องสมุด มีความตั้งใจทำงานตามที่ได้รับมอบหมายและส่งงานตรงตามกำหนดเวลาสามารถนำความรู้จากการเรียนมาใช้ในห้องปฏิบัติการได้รู้จักแบ่งเวลาระหว่างการเรียนและการทำกิจกรรม มีความพอใจในสาขาที่เรียนและมีความมุ่งมั่นจะเรียนให้สำเร็จ
2.2.2 การปรับตัวด้านสังคม หมายถึงการที่บุคคลปฏิบัติได้ตามระเบียบและกฎเกณฑ์ของสถาบันที่กำลัง
ศึกษา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถสร้างความสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รวมทั้งการทำความรู้จักกับเพื่อนต่างเพศและทำงานร่วมกันด้วย รู้จักเห็นอกเห็นใจ เคารพในสิทธิผู้อื่น วางตัวได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.2.3 การปรับตัวด้านอารมณ์ หมายถึงการที่บุคคลสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม รู้จักควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง เป็นคนมองโลกในแง่ดี ยอมรับตนเองตามสภาพความเป็นจริง รู้จักข้อดีข้อบกพร่องของตนเอง มีการนับถือตนเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
2.3 บุคลิกภาพ (Personality)
หมายถึง ลักษณะโดยส่วนรวมของแต่ละบุคคล ซึ่งทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น และมีผลต่อพฤติกรรม
ในการแสดงออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นๆ
2.4 ทฤษฏีบุคลิกภาพ
ไอแซงค์ (Eysenck) อธิบายถึงบุคลิกภาพของบุคคล โดยการสังเกตลักษณะนิสัยเป็นจำนวนมากจากกลุ่มประชากร และนำลักษณะที่แตกต่างกันของลักษณะนิสัยนี้มาหาสัมพันธ์กัน โดยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบ พบว่า บุคลิกภาพแบ่งเป็น 2 มิติ มิติหนึ่งคือเปิดเผย-เก็บตัว มาผสมกับอีกมิติที่สองคือ มั่นคงหวั่นไหว เพื่อเพิ่มมิติความไวของอารมณ์ เข้ามาเนื่องด้วยเห็นว่าอารมณ์มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่บุคคลจะแสดงออก พวกที่มั่นคงจะสามารถควบคุม
อารมณ์ได้ดี ไม่ตื่นเต้นง่าย สงบและสม่ำเสมอ ส่วนพวกที่หวั่นไหวอารมณ์จะเปลี่ยนแปรได้ง่าย หงุดหงิด ใจน้อย
กังวล อยู่ไม่เป็นสุข [5]การศึกษาของไอแซงค์โดยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบย่อมชี้พฤติกรรมบนเส้นต่อเนื่องซึ่งมีน้ำหนักสูงต่ำจากขั้วหัวไปสู่ขั้วท้ายมิติ บุคคลสัมพันธ์: คะแนนระดับสูง กำหนดเป็นเปิดเผย ส่วนระดับต่ำกำหนดเป็นเก็บตัว
มิติความไวของอารมณ์: คะแนนระดับสูงกำหนดเป็นอารมณ์หวั่นไหว ส่วนระดับต่ำกำหนดเป็นอารมณ์มั่นคง เมื่อนำเอาสองมิติมาวางทับกันเป็นแกนนอนและแกนตั้งจึงเผยบุคลิกภาพ 4 แบบ ดังแสดงในรูปที่ 1 คือ
2.4.1 แบบเก็บตัวอย่างมั่นคง (Stable Introvert)หรือแบบอดได้รอได้ มีลักษณะยอมตาม ควบคุมตัวเองได้รักสงบ ไว้วางใจได้ อารมณ์เย็นสุขุม
2.4.2 แบบเก็บตัวอย่างหวั่นไหว (Unstable Introvert)หรือแบบครองทุกข์ มีลักษณะเก็บตัว คิดแง่ร้าย ไม่ยืดหยุ่นวิตก โกรธง่าย
2.4.3 บุคลิกภาพเปิดเผยอย่างมั่นคง (StableExtrovert) หรือแบบมีชีวิตชีวา มีลักษณะเปิดเผย ให้
ความร่วมมือ ใจกว้าง มีชีวิตชีวา ชอบนำกลุ่ม ช่างเจรจา
2.4.4 แบบเปิดเผยอย่างหวั่นไหว (UnstableExtrovert) หรือแบบเกรียวกราว มีลักษณะชอบกิจกรรมก้าวร้าว ฉุนเฉียว ตื่นเต้นง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย ใจเร็วคิดแง่ดี
2.5 ความเกี่ยวพันระหว่างบุคลิกภาพกับการปรับตัว
นิภา [6] กล่าวถึงการพิจารณาเรื่องการปรับตัวของคนเรานี้กระทำได้ 2 ด้าน ด้วยกัน คือพิจารณาจากผลของการปรับตัวว่าผู้ใดสามารถปรับตัวได้สำเร็จมากน้อยหรือล้มเหลวประการใด กับพิจารณาจากกระบวนการหรือวิธีการทั้งหมดที่บุคคลใช้ในการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ กัน รวมทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องด้วย บุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องที่เข้ามามีส่วนสัมพันธ์กับเรื่องการปรับตัวหากพิจารณาในแง่ที่ว่า การปรับตัว คือกระบวนการทุกอย่างที่คนเราปรับเข้าหาสถานการณ์ต่างๆ กัน ทั้งนี้เพราะว่าบุคลิกภาพประกอบด้วยคุณลักษณะทางจิตที่ได้รับการพัฒนาจนเป็นรูปแบบคงที่อยู่ตัวแล้วในแต่ละคน ซึ่งยังผลให้คนเราเผชิญสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ กัน

3. วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษา
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือทั้งกรุงเทพฯ และปราจีนบุรี จำนวน3,595 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนตามคณะและทำการสุ่มอย่างง่ายในแต่ละคณะ จำนวน 360 คน
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยแบ่งเนื้อหาของแบบสอบถาม ออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามบุคลิกภาพ
ตอนที่ 3 แบบสอบถามความสามารถในการปรับตัว
3.3 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่านตรวจสอบภาษาและความเที่ยงตรงตามเนื้อหา หาค่า
ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับความสามารถในการปรับตัวทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับนักศึกษาซึ่งมิใช่กลุ่มตัวอย่าง แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน จากนั้นนำมาคำนวณหาค่าอำนาจจำแนกและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความสามารถในการปรับตัวทั้งฉบับ (ค่าความเชื่อมั่น = .8983)

3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติต่างๆ ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยด้วยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน

4. สรุปผลการวิจัย
4.1 ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษานักศึกษามีความสามารถในการปรับตัวโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความสามารถในการปรับตัวด้านสังคมอยู่ในระดับสูง ส่วนความสามารถในการปรับตัวด้านอารมณ์และความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง
4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป บุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาสรุปได้ดังนี้
4.2.1 ตัวแปรเกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไปมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปรับตัวด้านการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2.2 ตัวแปรเพศหญิงและตัวแปรบุคลิกภาพเปิดเผยอย่างมั่นคงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปรับตัวด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2.3 ตัวแปรบุคลิกภาพเปิดเผยอย่างมั่นคงที่มี


เอกสารอ้างอิง
[1] จิรวัฒน์ วิรังกร, คัมภีร์ชีวิตนิสิตใหม, กรุงเทพฯ:โครงการก้าวแรกสู่บัณฑิตยุคใหม่ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, 2548.
[2] อรพินทร์ ชูชม และ อัจฉรา สุขารมณ์, “องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น,” รายงาน
การวิจัยฉบับที่ 48 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2532.
[3] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.ปณิธานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ. [Online]. Available: http://www.kmutnb.ac.th/thai/about/mission.php.
[4] วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์, จิตวิทยาการปรับตัว,พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2545.
[5] กันยา สุวรรณแสง, การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว, กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อัดสำเนา), 2530.
[6] นิภา นิธยายน, การปรับตัวและบุคลิกภาพ จิตวิทยาเพื่อการศึกษาและชีวิต, กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้ง เฮ้าส์,
2530.
[7] สุกัญญา ตันตระบัณฑิตย์, “การศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล,” ปริญญานิพนธ์ กศ..(การอุดมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
[8] สิริชัย ระทีปฉาย, การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว, วิทยาลัยรำไพพรรณี, 2533.
[9] ทรรศนียา กัลยาณมิตร, เรียนเป็น : กลวิธีการเรียนให้ประดับผลสำเร็จ, กรุงเทพฯ : โรงพิมจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2530.
[10] สุธีรา เทอดวงศ์วรกุล, “การศึกษาการปรับตัวและสุขภาพจิตของนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน,” วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547.
[11] ศุภกานต์ ซื่อเกียรติขจร, “กลไกการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา,” วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.
[12] ชูศรี เลิศรัตน์เดชากุล, “การศึกษาสุขภาพจิตของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,
รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2539.
[13] อมรรัตน์ หอมชื่น, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโรงเรียนไทยบริหารธุรกิจและพณิชยการเขตบางเขนกรุงเทพฯ.” ปริญญานิพนธ์ กศ.. (จิตวิทยาการศึกษา)บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
[14] Hamed, Zahram A.S. “The Self Concept in thePsychological Guidance of Adolescents.” TheBritish Journal of Educational Psychology,vol. 37, pp. 225-239, June 1967.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น