วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัย 10



ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ศึกษาเฉพาะกรณี :
ธนาคารออมสินในภาค 13
ATTITUDE OF THE BANK STAFF ON THE REFORMATION OF THE GOVERNMENT SAVINGS BANK : CASE STUDY OF THE GOVERNMENT SAVINGS BANK PART 13
ไพรพรรณ ปริวัฒน์นันทกุล
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน ในด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านการให้บริการ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร (ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา) ของธนาคารออมสินที่ปฏิบัติงานประจาสาขาในภาค 13 ทั้ง 4 เขต คือ เขตชุมพร จานวน 4 สาขา เขตสุราษฎร์ธานี จานวน 6 สาขา เขตนครศรีธรรมราช จานวน 7 สาขา และเขตภูเก็ต จานวน 4 สาขา รวมจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 21 สาขา จานวนพนักงาน 173 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามลักษณะสารวจรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์เดิมของธนาคารออมสินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อปรับปรุงเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรใหม่พบว่าทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์ใหม่อยู่ในระดับมาก โดยทัศนคติในด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร มีค่ามากที่สุด
ระดับทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน จำแนกตามสถานภาพเบื้องต้นของพนักงาน พบว่า เพศ สถานภาพการสมรส ระดับตำแหน่ง เงินเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับธนาคารที่ต่างกันมีผลให้ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินแตกต่างกัน แต่อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ที่ต่างกันมีผลให้ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ABSTRACT
The aim of the present research was to study the attitude of the staff working in the government savings bank on the reformation of the bank in several categories including the total re-image of the bank, the reliability of the executive manager, new technology ,role and public responsibility and service. The sampling group in this study was the working staff and executive manager (assistant executive manager of the bank branch) who are working in the government savings bank part 13 in all 4 zone including 4 branches at Chumphon zone, 6 branches at Surat Thani zone, 7 branches at Nakornsrithammarat zone and 4 branches at Puket zone. The total sampling groups were 21 branches and the number of the staff was 173 persons. A tool for data collection used in this study was the questionnaire classified as item survey and scale estimation. Statistical analysis such as percentage value, mean value, standard deviation value, t-test and F-test were used in this study.
The results of the research showed that the attitude of the bank staff on the total image before reformation of the bank was ranked at the middle level. However, after reformation of the bank the attitude of the staff was increased to the high level and the maximum value of the staff attitude was found to be on the total image of the bank.
The attitude level of the staff on the bank reformation classified based on the basic status of the staff reveled that sex, married status, position, salary and working period in the bank had an affect on the attitude resulting in different of the staff attitude on the government savings bank reformation. However, age and education level of the staff showed no affect on the attitude resulting in no significant different at 0.05 of the staff attitude on the reformation of the government savings bank.

บทนำ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัด การเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สิน เงินทอง ของประชาชน ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น โดยทรงพระราชทานนามแบงก์ว่าลีฟอเทียในปี พ..2450 เพื่อทรงใช้ศึกษาและสารวจนิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรงเข้าใจในราษฏรของพระองค์และทรงทราบดีว่าควรใช้กุศโลบายใดอันจะ จูงใจคนไทยให้มองเห็นความสาคัญของการออม
ยุคที่ 1 คลังออมสิน สังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ..2456 – 2471 เพื่อให้คลังออมสินได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่ไปถึงราษฏรโดยทั่วกัน พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดาเนินการจัดตั้งคลังออมสินขึ้นในสังกัดกรม พระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาติประกาศใช้พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ..2456” ประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2456
ยุคที่ 2 กองคลังออมสิน สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ..2472 – 2489 ต่อมาในปี พ..2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดาริเห็นควรโอนกิจการคลังออมสินให้ประชาชน ซึ่งนับได้ว่ากิจการคลังออมสินในช่วงระยะนี้เติบโตขึ้นมาก จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย
ยุคที่ 3 ธนาคารออมสิน สังกัดกระทรวงการคลัง พ..2490 – ปัจจุบัน ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์และความสาคัญของคลังออมสินที่มีต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ยกฐานะของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์การของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดาเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ..2489” มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่มดาเนินธุรกิจในรูปธนาคารออมสินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2490 และคาว่าคลังออมสินก็ได้เปลี่ยนเป็นคาว่าธนาคารออมสินนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้กิจการออมสินจะได้รับแรงกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเมือง และการแปรเปลี่ยนของสภาพแวดล้อม แต่ด้วยความอุตสาหะ วิริยะ และความเป็นอัจฉริยะของผู้บริหารทุกยุค จึงสามารถก้าวฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ นามาซึ่งความ เป็นปึกแผ่นมั่นคง และความสาเร็จในการสร้างสรรค์ให้เป็นธนาคารของรัฐเพื่อประชาชนโดยแท้จริง
ธนาคารออมสินได้ทาการปรับภาพลักษณ์องค์กรใหม่ ด้วยการสร้างเอกลักษณ์องค์กรให้ก้าวทันต่อโลกปัจจุบัน เพื่อให้ออมสินเป็นสถาบันการเงินที่มีความโดดเด่น ทันสมัย มั่นคง และมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร อันจะเสริมสร้างให้วิสัยทัศน์การเป็นยิ่งกว่าธนาคารของออมสินให้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
การปรับภาพลักษณ์ใหม่ เกิดขึ้นตามการปรับโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างทางธุรกิจของธนาคารใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางดาเนินงานของธนาคาร 4 แนวทาง คือ การเป็นสถาบันแห่งการออม สถาบันแห่งเศรษฐกิจฐานราก สถาบันแห่งการลงทุน และสถาบันแห่งวิชาการและความรู้ ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจและการให้บริการแก่ประชาชนทุกระดับ แบบครบวงจร โดยมีการเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากร และนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาเสริมประสิทธิภาพการดาเนินงานและการให้บริการแก่ลูกค้า ธนาคารออมสินมุ่งหวังให้ภาพลักษณ์องค์กรใหม่ ธารงไว้ซึ่งความสง่างามในการเป็นสถาบันการเงินที่รับใช้สังคมไทยมายาวนาน อันเป็นความภาคภูมิใจของพนักงานออมสินทุกคน พร้อม ๆ กับเติมเต็มความสดใส ความทันสมัย ให้ความรู้สึกเป็นมิตรกับลูกค้าและประชาชนใน ทุกระดับ ธนาคารออมสิน จึงมุ่งมั่นสร้างเอกลักษณ์องค์กรให้มีความแตกต่าง โดดเด่น ทันสมัย และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่งทั้งองค์กร โดยทาการสร้างสรรค์ออกแบบเอกลักษณ์องค์กรและ ตราสัญลักษณ์องค์กร ควบคู่กับการสื่อสารภาพลักษณ์สู่ภายนอก ด้วยการปรับปรุงสาขา ทั้งภายในและภายนอก ตู้และบัตรเอทีเอ็ม แบบพิมพ์ธนาคาร สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องแบบพนักงาน เพื่อตอกย้าถึงภาพลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัยเอื้อต่อการนาไปประยุกต์ใช้ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเป็นเอกภาพของพนักงานทุกคน จนนาไปสู่การสร้างการรับรู้ ความรู้สึกที่ดี การจดจา และการเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้าและประชาชน ควบคู่ไปกับ การสร้างความแข็งแกร่ง และการรับรู้ในระดับสากล โดยพื้นฐานของการทางาน การรู้เขารู้เรา เป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี การรู้เรา คือ การรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งหมด เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าปัจจุบันองค์กรของเราเป็นอย่างไร ซึ่งจะได้จากการสารวจสภาพองค์กร ส่วนการรู้เขา นับเป็นจุดที่สาคัญยิ่งในการสร้างภาพลักษณ์ ที่เราจะต้องรู้ให้ได้ว่าบุคคลอื่นหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นมององค์กรอย่างไร เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลความต้องการ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นหน้าที่ของพนักงานโดยตรง ในการที่จะทาให้การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรในครั้งนี้บรรลุได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จากความสาคัญและสภาพปัญหาดังกล่าว และจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางตามนโยบายในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของผู้บริหารธนาคารออมสิน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงทัศนคติของพนักงานซึ่งเป็นตัวแปรอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร ถ้าพนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร จะมีผลทาให้เกิดความร่วมมือในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีออกสู่สายตาประชาชน พนักงานขององค์กรเปรียบเสมือน ทูตองค์กร ที่จะเสริมความน่าเชื่อถือ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และสังคม พนักงานเปรียบเหมือนกระบอกเสียงที่สาคัญในการกระจายชื่อเสียง และภาพลักษณ์องค์กร แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าขาดการสื่อสารกับพนักงานที่ดี ขาดความเข้าใจตรงกัน ภาพลักษณ์ก็จะกลายเป็นภาพลบและ ถ้าภาพลบออกจากพนักงาน จะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะฟังเพราะเขาเหล่านั้นอยู่ใกล้ชิดกับองค์กรมากที่สุด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน โดยจาแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ตาแหน่ง เงินเดือนและระยะเวลาการทางาน
2. เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม และด้านการให้บริการ
3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน โดยจาแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ตาแหน่ง เงินเดือนและระยะเวลาการทางาน

สมมติฐานของการวิจัย
1. พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน
2. พนักงานที่มีอายุต่างกัน มีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน
3. พนักงานที่มีสถานภาพสมรมต่างกัน มีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน
4. พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน
5. พนักงานที่มีตาแหน่งต่างกัน มีทัศนะคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน
6. พนักงานที่มีเงินเดือนต่างกัน มีทัศนะคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน
7. พนักงานที่มีระยะเวลาการทางานต่างกัน มีทัศนะคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี ด้านการให้บริการ และด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างกัน

ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร (ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา) ของธนาคารออมสินที่ปฏิบัติงานประจาสาขาในภาค 13 จานวน 47 สาขา แบ่งเป็น 4 เขต คือ เขตชุมพร จานวน 10 สาขา เขตสุราษฏร์ธานี จานวน 14 สาขา เขตนครศรีธรรมราช จานวน 14 สาขา และเขตภูเก็ต จานวน 9 สาขา รวมพนักงานทั้งสิ้น 604 คน (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2549)
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร (ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา) ของธนาคารออมสินที่ปฏิบัติงานประจาสาขาในภาค 13 ทั้ง 4 เขต คือ เขตชุมพร จานวน 4 สาขา เขตสุราษฎร์ธานี จานวน 6 สาขา เขตนครศรีธรรมราช จานวน 7 สาขา และเขตภูเก็ต จานวน 4 สาขา รวมจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 21 สาขา จานวนพนักงาน 173 คน

2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรอิสระ คือ ตัวแปรที่เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งหมายถึง พนักงานที่ปฏิบัติงานประจาสาขาในธนาคารออมสินภาค 13 ระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร (ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา) โดยจาแนก ดังนี้
1. เพศ
1.1 ชาย
1.2 หญิง
2. อายุ
2.1 ไม่เกิน 25 ปี
2.2 26 – 35 ปี
2.3 36 – 45 ปี
2.4 มากกว่า 45 ปี
3. สถานภาพการสมรส
3.1 โสด
3.2 สมรส/อยู่ด้วยกัน
3.3 หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่
4. ระดับการศึกษา
4.1 ต่ากว่าปริญญาตรี
4.2 ปริญญาตรี
4.3 สูงกว่าปริญญาตรี
4.4 อื่น ๆ
5. ตาแหน่ง
5.1 พนักงานระดับปฏิบัติการ ระดับ 4 – 5
5.2 พนักงานระดับปฏิบัติการ ระดับ 6 – 7
5.3 พนักงานระดับบริหาร (ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา)
6. เงินเดือน
6.1 7,210 – 10,000 บาท
6.2 10,001 – 20,000 บาท
6.3 20,001 – 30,000 บาท
6.4 30,000.-บาท ขึ้นไป
7. ระยะเวลาการทางาน
7.1 น้อยกว่า 5 ปี


7.2 5 – 10 ปี
7.3 11 – 15 ปี
7.4 15 ปีขึ้นไป

2.2 ตัวแปรตาม คือ ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารออมสิน ซึ่งผู้วิจัยได้กาหนดตามแนวนโยบายของผู้บริหารในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ
1. ด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร
2. ด้านความเชื่อถือของทีมงานผู้บริหาร
3. ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี
4. ด้านบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม
5. ด้านการให้บริการ
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2549 – กันยายน 2550

วิธีดาเนินการวิจัย
1. ผู้วิจัยขอความร่วมมือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอหนังสือแนะนาตัวผู้วิจัย เรียนผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาในภาค 13 เพื่อขอความร่วมมือจากพนักงานของธนาคารตามที่ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. ผู้วิจัยนาหนังสือแนะนาตัวผู้วิจัยพร้อมทั้งแบบสอบถาม ไปยังสาขาธนาคารออมสินที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขอความอนุเคราะห์จากผู้จัดการสาขา เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม
3. ในการส่งแบบสอบถามคืน ผู้วิจัยได้จัดทาเป็น 2 แนวทาง คือ
3.1 นัดหมายไปรับแบบสอบถามด้วยตัวผู้วิจัย หรือผู้แทน
3.2 ขอความกรุณาให้ส่งคืนทางไปรษณีย์ โดยผู้วิจัยได้ปิดดวงตราไปรษณียากรตามน้าหนักแบบสอบถามที่ผู้ตอบสามารถจัดส่งคืนผู้วิจัย เพื่อความสะดวกและความสบายใจของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยขอความกรุณาส่งแบบสอบถามคืนภายใน 15 วัน หลังจากที่ได้รับแบบสอบถาม
4. รวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับคืนมา ตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วนของแบบสอบถามและนาแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนเฉพาะฉบับที่มีความสมบูรณ์ มาลงรหัสตัวเลข (Code) ตามเกณฑ์ของเครื่องมือแต่ละส่วนแล้วจึงนาไปประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติเชิงพรรณา (descriptive statistic) ใช้เป็นสถิติเบื้องต้นในการอภิปรายผล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขาคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างด้านสถานภาพเบื้องต้นของพนักงานซึ่งเป็นคาถามปลายปิด รวมทั้งอธิบายระดับความสาคัญของ ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์ของธนาคาร ออมสิน
2. สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) ใช้เป็นสถิติในการเปรียบเทียบข้อมูลแบบทดสอบสมมติฐานการวิจัย ตัวแปรตามจัดอยู่ในสเกลแบบ Interval Scale ใช้สถิติ F-test ในการทดสอบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในประชากรมาก กว่า 2 กลุ่ม ซึ่งในที่นี้ ผู้วิจัยจะได้นาสถิติดังกล่าวไปใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัย

ผลการวิจัย
ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์เดิมของธนาคารออมสินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อปรับปรุงเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรใหม่พบว่าทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์ใหม่อยู่ในระดับมาก โดยทัศนคติในด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร มีค่ามากที่สุด
ระดับทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน จาแนกตามสถานภาพเบื้องต้นของพนักงาน พบว่า เพศ สถานภาพการสมรส ระดับตาแหน่ง เงินเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับธนาคารที่ต่างกันมีผลให้ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินแตกต่างกัน แต่อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ที่ต่างกันมีผลให้ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผล
1. ทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์เดิมของธนาคารออมสินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อเมื่อปรับปรุงเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรใหม่พบว่าทัศนคติของพนักงานที่มีต่อภาพลักษณ์ใหม่อยู่ในระดับมาก โดยทัศนคติในด้านภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคาร มีค่ามากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่าธนาคารออมสินได้เล็งเห็นว่าภาพลักษณ์เป็นสิ่งหนึ่งที่จะกระตุ้นให้พนักงานเกิดความประทับใจและภาคภูมิใจในองค์กร ถ้าพนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร จะมีผลทาให้เกิดความร่วมมือในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีออกสู่สายตาประชาชน สอดคล้องกับแนวคิดของ ใจทิพย์ ศรีประกายเพ็ชร ( 2537) ที่กล่าวว่า ภาพลักษณ์ขององค์การมีความสาคัญอย่างยิ่งต่อความสาเร็จขององค์การทั้งในระยะสั้นและระยะยาว องค์การต่างๆได้รับความสนใจจากสาธารณชนและมวลชนมากขึ้น ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารและสื่อสารมวลชน ทาให้คนในสังคมต่างๆรับทราบ ข่าวสารเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างกว้างขวาง ทุกคนต้องการรับรู้ และมีส่วนเกี่ยวข้องในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ ถ้าองค์การใดมีภาพลักษณ์ที่ดีก็จะได้รับความเชื่อถือไว้วางใจและการสนับสนุนร่วมมือให้องค์การนั้นประสบความสาเร็จในการดาเนินงาน แต่ถ้าองค์การใดมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี ย่อมได้รับการต่อต้านและการดูหมิ่นเกลียดชัง ภาพลักษณ์จึงเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงขององค์การ ถ้ามีภาพลักษณ์ที่ดี แม้มีวิกฤตการณ์เกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขได้ง่าย เสมือนหนึ่งร่างกายของคนที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรค หากได้รับเชื้อโรคหรือมีอาการเจ็บป่วย อาการก็จะไม่ร้ายแรงและหายเร็วกว่าปกติ และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของอุบลรัตน์ ค่าแพง (2547 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องภาพลักษณ์ของธนาคารพาณิชย์ไทยตามความเห็นของผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สายเศรษฐกิจการเงินการธนาคารพบว่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สายเศรษฐกิจการเงินการธนาคารส่วนใหญ่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน โดยมองภาพลักษณ์โดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ในเกณฑ์ดี
2. ระดับทัศนคติของพนักงานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน จาแนกตามสถานภาพเบื้องต้นของพนักงานได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา ระดับตาแหน่ง เงินเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับธนาคาร โดยรวมมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าพนักงานที่มีสถานภาพเบื้องต้นต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน ดังนี้
2.1 พนักงานที่มีเพศต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายจะมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสิน มากกว่าเพศหญิง สอดคล้องกับผลการวิจัยของพิชญา กรรณานุวัฒน์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ในทัศนะของพนักงานทั่วประเทศ พบว่าตัวแปรด้านอายุ สถานภาพ การศึกษา และอายุงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของธนาคาร ตัวแปรด้านเพศเท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของธนาคาร
2.2 ด้านสถานภาพการสมรส พนักงานที่มีสถานภาพการสมรสต่างกันมีทัศนคติของต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวมแตกต่างกันทั้งนี้เนื่องจากพนักงานที่มีสถานภาพโสดมีความพึงพอใจกับภาพลักษณ์ใหม่ที่ดูทันสมัย คล่องตัวกว่า และทาให้พนักงานเกิดความพร้อมในการให้บริการมากกว่าขัดแย้งกับผลการวิจัยของพิชญา กรรณานุวัฒน์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ในทัศนะของพนักงานทั่วประเทศ พบว่าตัวแปรสถานภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของธนาคาร
2.3 ด้านอายุ พนักงานที่มีอายุต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยของพิชญา กรรณานุวัฒน์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ในทัศนะของพนักงานทั่วประเทศ พบว่าตัวแปรด้านอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของธนาคาร
2.4 ด้านระดับการศึกษา พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวม ไม่แตกต่างกันเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพนักงานของธนาคารที่มีความต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารให้ดีขึ้นอยู่แล้ว สอดคล้องกับผลการวิจัยของพิชญา กรรณานุวัฒน์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ในทัศนะของพนักงานทั่วประเทศ พบว่าตัวแปรด้านการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของธนาคาร
2.5 ด้านระดับตาแหน่ง พนักงานที่มีระดับตาแหน่งต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวม แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานที่มีระดับตาแหน่งสูงกว่าจะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาตนเองในเรื่องเทคโนโลยีที่มากกว่าระดับล่าง ทาให้มีความพร้อมและเกิดทัศนคติที่ดีในการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่โดยการนาเทคโนโลยีมาใช้ในธนาคาร
2.6 ด้านเงินเดือน พนักงานที่มีเงินเดือนต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวมแตกต่างกันทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีรายได้มากกว่าจะได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารมากกว่า เช่น ในเรื่องของเครื่องแบบพนักงานซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่พนักงานจะต้องจ่าย หรือการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่บางครั้งพนักงานต้องศึกษาด้วยตนเองเพิ่มเติม ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ขัดแย้งกับผลการศึกษาของ อนัญญา พันธุ์เมฆ (2542 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องทัศนะของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพลักษณ์ของธนาคารเอเชีย จากัด (มหาชน) พบว่าลูกค้าที่มีระดับรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจในบริการต่างๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
2.7 ด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับธนาคาร พนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับธนาคารต่างกันมีทัศนคติต่อการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารออมสินในภาพรวมแตกต่างกันทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานกับธนาคารต่ากว่า 5 ปีจะรู้สึกว่าตนยังมีความไม่มั่นคงในการทางานเมื่อเทียบกับผู้ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 11 ปีขึ้นไป ซึ่งส่งผลให้ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ไม่เหมือนกันด้วย ขัดแย้งกับผลการวิจัยของพิชญา กรรณานุวัฒน์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ในทัศนะของพนักงานทั่วประเทศ พบว่าตัวแปรด้านอายุงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของธนาคาร

เอกสารอ้างอิง
จิรารัตน์ สุนทรอาคเนย์. 2548. ความคิดเห็นของข้างราชการและลูกจ้างกรมประชาสัมพันธ์ที่มีต่อโครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS). การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จิรายุ ทรัพย์สิน. 2540. ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร: ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชวาล แพรัตกุล. 2526. เทคนิคการเขียนข้อสอบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. 2548. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรกมลการพิมพ์.
ดารง วัฒนา. 2540. การนาระบบสารสนเทศไปใช้ในการปรับปรุงการบริการภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิมพ์ดี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น